เปิดปม : เหตุใด ‘แมนฯซิตี้’ จึงรอด ‘คมดาบ’ จากศาลกีฬาโลก ?

ในที่สุดก็ได้บทสรุปออกมาเป็นที่เรียบร้อย สำหรับทัพ ‘เรือใบสีฟ้า’ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ที่คณะอนุญาโตตุลาการกีฬา (CAS) ได้ประกาศให้พวกเขาเป็นฝ่ายชนะคำร้องอุทธรณ์โทษแบนห้ามลงสนามในเกมยุโรปนาน 2 ปี แต่ยังคงต้องจ่ายค่าปรับจำนวน 10 ล้านยูโรในช่วงก่อนหน้านี้หากยังจำกันได้ ทางยูฟ่า ได้ตัดสินใจลงดาบ แมนฯซิตี้ ภายหลังจากที่ได้หลักฐาน และในที่สุดก็ได้ตัดสินว่าทัพเรือใบสีฟ้า ได้ทำการละเมิดกฎ FFP (แฟร์เพลย์ทางการเงิน) อย่างไม่เกรงกลัวฟ้าดิน จนจบด้วยการลงโทษ ‘แบน’ ห้ามข้องเกี่ยวกับฟุตบอลยุโรป 2 ปี หรือ

พูดง่าย ๆ ก็คือ ตั้งแต่ฤดูกาลหน้านับไปอีก 2 ปี ต่อให้ แมนฯซิตี้ โชว์ฟอร์มสุดสะแด่วจนได้แชมป์พรีเมียร์ลีก หรือ แชมป์ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก ในปีนี้ พวกเขาก็ยังคงไม่ได้รับอนุญาตให้ลงแข่งขันในระดับยุโรป ไม่ว่าจะเป็น ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก หรือแม้แต่ ยูโรป้า ลีก ก็ตาม นอกจากนี้ยังโดนสั่งปรับเงินจำนวนมากถึง 30 ล้านยูโรอีกด้วยและก็เป็นดังคาด เมื่อจำเลยสังคมอย่าง ‘แมนฯ ซิตี้’ ได้ยืนหยัดหนักแน่นว่า พวกเขาไม่ได้เล่นนอกเกม ก่อนจะตัดสินใจยื่นเรื่องขออุทธรณ์โทษแบนกับศาลกีฬาโลกในที่สุด และล่าสุดก็ได้มีผลคำตัดสินจากศาลกีฬาโลกออกมาแล้วว่า ให้ทางยูฟ่า ‘แก้ไข’ โทษแบนดังกล่าว เนื่องจากหลักฐานที่ใช้ฟ้องร้องนั้นไม่เป็น ‘ที่ยอมรับ’ จากการที่มีการไต่สวนเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 8-10 กรกฎาคมที่ผ่านมา
แมนฯซิตี้ ด้วยบทลงโทษที่สุดแสนทรหด แต่ทำไมเขาถึงรอดกัน ไปค้นหาคำตอบกันดีกว่า
ภายหลังการไต่สวนดังกล่าว คณะผู้พิพากษา CAS ได้สุมหัวร่วมกันพิจารณาคดีความดังกล่าวอย่างรอบคอบ และก็ได้ข้อสรุปว่า การตัดสินของคณะผู้พิพากษาของ CFCB เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ควรมีการปรับเปลี่ยนการลงโทษกับทีม ‘แมนฯ ซิตี้’ ด้วยบทลงโทษดังนี้ 1) ฝ่าฝืนข้อที่ 56 ของใบอนุญาตสโมสร และกฎทางการเงิน 2) ต้องจ่าย 10 ล้านยูโร ให้กับ UFA ใน 30 วัน

ซึ่งจาก ข่าวหลุดวงการฟุตบอล ออกมานั้น ผลการตัดสินในครั้งนี้ของ CAS ได้พูดถึงข้อกล่าวหาของคณะผู้พิพากษาของ CFCB ที่ระบุว่ามีการละเมิดกฎ FFP นั้น ส่วนใหญ่ไม่เป็นที่ยอมรับ เนื่องจากคดีความนั้นมีอายุเกิน 5 ปีแล้ว จึงไม่เข้าเงื่อนไขของเวลาที่ทางยูฟ่าเป็นคนตั้งกฎนี้มาเองในขณะที่ข้อกล่าวหาเรื่องความทุจริตในการปกปิดการระดมทุน มีความชัดเจนว่าผิดกฎหมายมากกว่าการขัดขวางการสืบสวนของ CFCB ในการลงโทษ ‘แบน’ ไม่ให้ แมนฯซิตี้ เข้าร่วมการแข่งขันระดับสโมสรของทางยูฟ่า เนื่องจากทัพเรือใบนั้น ไม่ให้ความร่วมมือในการสืบสวนของ CFCB นั้น ไม่สมเหตุสมผล
แต่ท้ายที่สุดแล้ว หากพิจารณาจาก 1) ความมั่นคงการเงิน 2) การร่วมมือต่อการสืบสวนของ CFCB เพราะข้อจำกัดเรื่องของการสืบสวน 3) ความเพิกเฉยต่อหลักพื้นฐานและการขัดขวางการสืบสวน คณะผู้พิพากษา CAS
จึงได้ข้อสรุปเห็นควรว่า ควรลดโทษปรับเงินกับทางสโมสรแมนฯซิตี้ลง 2 ใน 3 จากเดิม 30 ล้านยูโร เหลือปรับเพียง 10 ล้านยูโรเท่านั้น และที่สำคัญคือ โทษแบน 2 ปีของแมนฯซิตี้ในฟุตบอลยุโรป 2 ปีนั้น ได้ถูก ‘ยกเลิก’ ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว